แชร์

เที่ยวทะเลหน้าร้อนในวันหยุด ต้องระมัดระวังตัวเองอย่างไร

เมษาทีไรอากาศในประเทศไทย ก็ดูจะเป็นใจให้ออกไปเที่ยวทะเล ถ่ายรูปท้าแดดจ้า กับวันหยุดหลากหลายเทศกาล พร้อมหน้ากับครอบครัว 

หน้าร้อนแบบนี้ หลายครอบครัว คงมีแพลนทริปไปเที่ยวทะเลกัน  วันนี้เราจึงนำวิธีการดูแลตัวเอง ก่อนเก็บกระเป๋าไปเที่ยวทะเลหน้าร้อน ว่าต้องระมัดระวังตัวเองอย่างไร   มาฝากทุกครอบครัวนะคะ  

จัดกระเป๋าเดินทางเตรียมพร้อมก่อนเที่ยวทะเล

1.ครีมกันแดด เพื่อปกป้องตัวเองจากแสงแดด และป้องกันผิวไหม้ ควรเตรียมครีมทั้งประเภท    ทาหน้าและทาตัว ที่มีค่า SPF เหมาะสมสำหรับไปทะเล โดยควรเลือก SPF 50 ขึ้นไป ควรทาครีมกันแดดก่อนออกแดดประมาณ 15 - 30 นาที หากใครกลัวผิวไหม้ สามารถติดน้ำมันมะพร้าวไปด้วยได้ เพราะมีคุณสมบัติช่วยป้องกันผิวหนังไหม้ จากการโดนแดดได้ 

2.แว่นกันแดด หรือ หมวก ควรสวมแว่นกันแดด ที่สามารถกรองรังสี UV ได้อย่างน้อย 80% ขึ้นไป เพราะจะช่วยปกป้องดวงตา และถนอมผิวรอบดวงตา รวมถึงสวมหมวก เพื่อป้องกันความร้อนที่จะกระทบศรีษะโดยตรง 

3.น้ำเปล่า ควรจิบน้ำบ่อยๆ ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ และน้ำยังช่วยเรื่องของผิว ไม่ให้แห้ง ลดความร้อนในร่างกาย และเพื่อสุขภาพที่ดี การจิบน้ำเป็นระยะ ช่วยป้องกันร่างกายขาดน้ำได้ด้วย 

4.ยาประจำตัว หากต้องเดินทางไกลข้ามเกาะ ต้องมีการต่อรถต่อเรือ อาจจะต้องมีการพกยาแก้เมารถเมาเรือ เพื่อการรับประทานกันเอาไว้ หรือยาพื้นฐานไว้ดูแลตัวเอง สำหรับผู้สูงวัยที่มีโรคประจำตัว อย่าลืมจัดยาไปรับประทานด้วย เพื่อไว้สักสองวันล่วงหน้า ในกรณีฉุกเฉินจะได้หยิบฉวยได้ง่าย 

5.ชุดลำลองป้องกันแสงแดด หน้าร้อนควรเลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย และหากต้องออกแดดเป็นเวลานาน ควรสวมเสื้อที่ป้องกันแสงแดดได้ เช่น เสื้อผ้าที่เป็นลักษณะ UV Cut ที่สามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งเป็นอันตรายได้มากถึง 90% เสื้อ UV Cut จะช่วยปกป้องผิวได้ทันทีที่สวมใส่ เหมาะสำหรับคนกลัวแดด กลัวดำ เป็นอย่างดี  

ข้อควรระวังสำหรับการเดินทางเที่ยวทะเล 

  • ตรวจสอบสภาพแหล่งท่องเที่ยว ศึกษาข้อมูลสภาพแวดล้อมของทะเล หรือเกาะต่าง ๆ ที่จะไปท่องเที่ยว เช่น ความลึก ความแรงของคลื่น กระแสลม กระแสน้ำ โขดหิน สัตว์มีพิษ เช่น แมงกะพรุน ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายหากลงเล่นน้ำ หรือหากถ้าไปสัมผัสโดนตัวแมงกะพรุน อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรง 


  • ตรวจสอบสภาพแหล่งท่องเที่ยว ศึกษาข้อมูลสภาพแวดล้อมของทะเล หรือเกาะต่าง ๆ ที่จะไปท่องเที่ยว เช่น ความลึก ความแรงของคลื่น กระแสลม กระแสน้ำ โขดหิน สัตว์มีพิษ เช่น แมงกะพรุน ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายหากลงเล่นน้ำ หรือหากถ้าไปสัมผัสโดนตัวแมงกะพรุน อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรง 


  • เตรียมอุปกรณ์และสิ่งของที่จำเป็น เช่น ยารักษาโรค ห่วงยาง เสื้อชูชีพ ยาบรรเทาแมลงกัดต่อย เอาไว้ในยามฉุกเฉิน 


  • ไม่เล่นน้ำในพื้นที่อันตราย โดยเฉพาะบริเวณที่มีร่องน้ำลึก โขดหินใต้น้ำ บริเวณที่มีป้ายหรือธงสัญลักษณ์เตือนอันตราย หรือช่วงกลางคืนที่น้ำขึ้น น้ำทะเลหนุน พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำ ของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด


  • ถ้ามีเด็กหรือผู้สูงวัย ควรดูแลการลงเล่นน้ำอย่างใกล้ชิด โดยให้สวมใส่เสื้อชูชีพ หรือห่วงยางตลอดเวลาที่เล่นน้ำ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้สามารถลอยตัว เพื่อรอรับความช่วยเหลือได้ 


  • ไม่เล่นน้ำเป็นระยะเวลานาน การอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน อาจทำให้เป็นตะคริวหรือเกิดความอ่อนเพลีย ทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้ 

ถ้ารู้สึกว่า ร่างกายไม่แข็งแรงก็ไม่ควรลงเล่นน้ำ และไม่ควรเล่นน้ำตามลำพัง ควรจะมีเพื่อนเล่นน้ำ และรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อการช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ 

อันตรายที่อาจเกิดจากการท่องเที่ยวทางทะเล

การจมน้ำ การลงเล่นน้ำระยะเวลานาน อาจเป็นสาเหตุให้เกิด ความอ่อนเพลีย สำลักน้ำ จนทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้

  • ตะคริว เกิดจากการที่เอ็นและกล้ามเนื้อ ที่ไม่ได้มีการยืดตัวบ่อย ๆ เกิดการหดรั้งหรือเกร็งง่าย เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นมาก หรือใช้จนกล้ามเนื้ออ่อนล้า หรืออ่อนแรง รวมถึงการออกกำลังที่ใช้แรงจนเกินกำลัง หรือออกกำลังกายติดต่อกันนาน ๆ เช่น การว่ายน้ำ อาจทำให้เป็นตะคริวได้ 


  • หมดสติ กรณีหมดสติ จม/สำลักน้ำ ให้รีบตรวจชีพจรภายใน 10 วินาที เพื่อคืนสัญญาณชีพแก่ผู้ป่วย 

ควรรีบเร่งช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้เร็วที่สุด โดยการเปิดทางเดินหายใจ ให้ผู้ป่วยนอนราบ กดหน้าผากลง เชยคางขึ้น ใช้นิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือบีบจมูกเป่าลมเข้าไปจนสุดลมหายใจ ทำซ้ำ 20 ครั้งต่อนาที (สลับเป่าปากครั้งละ 3 วินาที)

หากไม่มีชีพจรหรือหัวใจหยุดเต้น ต้องทำการนวดกดกระตุ้นหัวใจ (CPR) ทันที กระตุ้นหัวใจโดยการกดหน้าอก ตำแหน่งกลางช่องอก ความถี่ในการกดถ้าไม่มีผู้ช่วยให้กดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง (กรณีมีผู้ช่วยให้กดหน้าอก 15 ครั้ง ช่วยหายใจ 2 ครั้ง) 

เมารถ/เรือ 

  • อาการเมารถหรือเมาเรือ เกิดจากการเสียสมดุล ของระบบประสาททรงตัว ซึ่งได้รับแรงกระตุ้น เช่น นั่งรถผ่านทางโค้ง หรือ นั่งเรือขณะมีคลื่น โคลงเคลง ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียน 


  • อาการเมารถหรือเมาเรือ เกิดจากการเสียสมดุล ของระบบประสาททรงตัว ซึ่งได้รับแรงกระตุ้น เช่น นั่งรถผ่านทางโค้ง หรือ นั่งเรือขณะมีคลื่น โคลงเคลง ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียน 


  • ขณะนั่งรถหรือเรือถ้าเมาเป็นประจำ ผู้ที่เมารถควรนั่งด้านหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงการเหวี่ยงของรถ ถ้าเมาเรือควรเลือกนั่งบริเวณกลางลำเรือ เพื่อให้มีอากาศถ่ายเท มองออกไปไกล เลี่ยงการจ้องมองคลื่น และระวังขณะรถ/เรือ สวนกัน เพราะจะทำให้เวียนหัวได้ 

ข้อควรระวัง ระหว่างขึ้นรถ/เรือ ไม่ก้มหน้าอ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์มือถือมากเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้เมารถ/เรือได้ง่ายขึ้น

  • สำหรับผู้ที่มีอาการเมาทั้งรถและเรือ ควรรับประทานยาแก้เมา 1 เม็ดประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนลงเดินทาง เพื่อช่วยลดอาการเมารถเมาเรือ การรับประทานยาก่อนเดินทาง ทำให้ยาสามารถดูดซึมได้ดี ยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทการทรงตัว ลดการเวียนหัวได้   

พิษสัตว์ทะเล

  • ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีสัตว์ทะเลมีพิษ เช่น แมงกะพรุนไฟ ควรหาข้อมูลก่อนเดินทาง เพื่อช่วยให้ทราบล่วงหน้าและระมัดระวังตัวได้


  • เมื่อโดนพิษของแมงกะพรุนไฟหรือปะการังไฟ ควรรีบขึ้นจากน้ำทะเลโดยเร็วที่สุด และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำจืดล้าง เพราะน้ำจืดจะกระตุ้นพิษให้พิษกระจายยิ่งขึ้น  และอย่าใช้มือเปล่าหยิบ ให้ใช้หาผ้าหรือไม้เขี่ย และรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธี เพื่อป้องกันการอักเสบ และแผลติดเชื้อ 


  • ถ้าถูกหนามของเม่นทะเล มักบ่งยาก บ่งไม่ออก เนื่องจากหนามเม่นมีความเปราะ ให้ใช้ของแข็ง เช่น ขวดน้ำ ท่อนไม้ หรือก้อนหิน ทุบตรงบริเวณหนามตำ ให้หนามแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ความเจ็บปวดก็จะหายไป หากอาการปวดไม่หายหรือแผ่ขยายวงกว้างขึ้น ควรไปโรงพยาบาลเร็วที่สุด

ลมแดด

  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นลมแดด มักจะมีอาการ หลังจากสัมผัสอากาศร้อนจัด 


  • เมื่อมีกิจกรรมกลางแจ้ง ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 2 ลิตร/วัน เพื่อให้น้ำช่วยระบายความร้อน ป้องกันการเสียเหงื่อมาจนเป็นลม 


  • หลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น เล่นกีฬา หรือ ว่ายน้ำ ขณะแดดจัดมากๆ 


  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาบางชนิด หากเป็นผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกเดินทาง


  • การช่วยเหลือผู้มีอาการลมแดดเบื้องต้น ด้วยการพาเข้าที่ร่ม ให้นอนราบและยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด ใช้น้ำเย็นชุบเช็ดตัว อาจเปิดพัดลมเป่าช่วยระบายความร้อน ใช้ยาดมหรือแอมโมเนียให้สูดดมแก้วิงเวียน จากนัั้นลองพักดูอาการ ถ้ารู้สึกยังไม่ดีขึ้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาล 

เมื่อทราบวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้นกันแล้ว เที่ยวทะเลหน้าร้อนปีนี้คงสนุกแน่นอน ว่าแล้วก็จองทริปเดินทาง จัดกระเป๋าออกเดินทางกันเลย


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy